ธ.ก.ส. เดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพชุมชนแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืนภายใต้ BCG Model ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างการเติบโตของภาคเกษตรกรรมไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยส่งเสริมและสนับสนุนเงินทุนให้กับเกษตรกร บุคคล นิติบุคคล กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์การเกษตร ผ่านสินเชื่อ BCG Model วงเงินรวม 35,000 ล้านบาท ประกอบด้วย
- สินเชื่อเพื่อเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy Credit) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้เพิ่มศักยภาพในการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต
- สินเชื่อเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Credit) เพื่อสนับสนุนการลดปริมาณของเสียให้เท่ากับศูนย์ (Zero waste) โดยนำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนการนำวัสดุกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และแปรสภาพกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)
- สินเชื่อสีเขียว (Green Credit) เพื่อสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์หรือการผลิตอาหารปลอดภัย (Food Safety) ส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานสะอาด รวมถึงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ เพื่อจูงใจให้เกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตร หันมาปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยธ.ก.ส. กำหนดอัตราดอกเบี้ย สำหรับลูกค้าที่อยู่ในช่วงเริ่มโครงการและอยู่ระหว่างการรับรองมาตรฐาน กรณีเป็นเกษตรกร บุคคล อัตราดอกเบี้ย MRR ต่อปี (MRR เท่ากับ 6.975% ต่อปี)และนิติบุคคล กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์การเกษตร อัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี (MLR เท่ากับ5.625%) และกรณีที่ลูกค้าได้รับการรับรองมาตรฐาน สำหรับเกษตรกร บุคคล จะคิดอัตราดอกเบี้ย MRR -1 ต่อปี และนิติบุคคลคิดอัตราดอกเบี้ย MLR -0.5 ต่อปี ทั้งนี้กรณีกู้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนกำหนดชำระคืน ไม่เกิน 12 เดือน พิเศษ ไม่เกิน18 เดือน กรณีกู้เพื่อลงทุน ชำระคืนภายใน15 ปี กรณีกู้เพื่อชำระหนี้สถาบันการเงินอื่นชำระคืนภายใน 10 ปี พิเศษไม่เกิน 15 ปีระยะเวลาโครงการตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 มี.ค. 2571
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธ.ก.ส.ทุกสาขาทั่วประเทศ และ Call Center 02-555-0555 ตลอด 24 ชั่วโมง
ขอบคุณที่มา : moneyandbanking