ขอเชิญผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน กิจการเพื่อสังคม (SE) หรือ นิติบุคคล ทั่วประเทศไทยที่มีผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม เข้าร่วมอบรมบ่มเพาะความคิดเชิงนวัตกรรมและคัดเลือกเพื่อรับทุนสนับสนุนผลงานนวัตกรรมที่มีส่วนช่วย “ลดความเสี่ยง ป้องกัน และฟื้นฟู” ผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 สำหรับกลุ่มประชากรที่เปราะบาง เช่น กลุ่มประชากรที่ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ ชาวไร่ชาวสวนที่เดือดร้อน ผู้ไม่มีหลักประกันสุขภาพ ผู้ตกงาน รวมถึงนวัตกรรมทางสุขภาพต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เป็นต้น โดยมีขอบเขตการนำนวัตกรรมไปใช้ในพื้นที่ กลุ่มจังหวัดภาคกลาง (นอกเหนือจาก กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จะพิจารณาเป็นพิเศษ)
สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 พฤษภาคม 2563
กรอกใบสมัครได้ที่นี่
ข้อมูลเกี่ยวกับ “โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการธุรกิจเชิงนวัตกรรมเพื่อสังคม”
1. หลักการและเหตุผล
การบ่มเพาะผู้ประกอบการธุรกิจเชิงนวัตกรรมเพื่อสังคมเป็นโครงการสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการที่สนใจแก้ไขปัญหาสังคมด้วยผลิตภัณฑ์หรือบริการเชิงนวัตกรรมให้ได้มีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการ เข้าใจปัญหาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีศักยภาพในการบริหารจัดการธุรกิจและสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการในเชิงนวัตกรรมทั้งที่เป็นสิ่งประดิษฐ์หรือแนวคิดวิธีการที่สามารถลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมให้แก่ชุมชนหรือกลุ่มเป้าหมายอย่างยั่งยืน โดยผลงานนวัตกรรมดังกล่าวจะต้องมีส่วนช่วย “ลดความเสี่ยง ป้องกัน และฟื้นฟู” ผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 สำหรับกลุ่มประชากรที่เปราะบาง เช่น กลุ่มประชากรที่ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ ชาวไร่ชาวสวนที่เดือนร้อน ผู้ไม่มีหลักประกันสุขภาพ ผู้ตกงาน รวมถึงนวัตกรรมทางสุขภาพต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เป็นต้น และต้องมีขอบเขตการนำนวัตกรรมไปใช้ได้จริงในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง (นอกเหนือจาก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะพิจารณาเป็นพิเศษ)
2. วัตถุประสงค์
1) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจเชิงนวัตกรรมให้มีองค์ความรู้ในการดำเนินธุรกิจและสามารถพัฒนาต่อยอดผลงานนวัตกรรมที่มีส่วนช่วย “ลดความเสี่ยง ป้องกัน และฟื้นฟู” ผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนหรือพื้นที่เป้าหมาย
2) เพื่อสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคม
3. ความหมายของ “นวัตกรรมเพื่อสังคม”
ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือผลงานที่เป็นผลผลิตจากการคิดหรือประดิษฐ์ขึ้นของผู้ประกอบการธุรกิจ วิสาหกิจชุมชน กิจการเพื่อสังคม (SE) หรือนิติบุคคล ที่กระทำขึ้นอย่างเป็นกระบวนการ มีการกำหนดแนวคิดและเป้าหมายเพื่อ ลดความเสี่ยง ป้องกัน และฟื้นฟู ผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ที่ชัดเจน และต้องมีขอบเขตการนำนวัตกรรมไปใช้ได้จริงในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง
ทั้งนี้กิจกรรมหรือผลกระทบของนวัตกรรมเพื่อสังคมดังกล่าวจะต้องมีผลสืบเนื่องในระยะยาว โดยจะต้องแสดงให้เห็นว่าหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินงานแล้วนั้น พื้นที่เป้าหมายจะสามารถดำเนินการต่อได้ด้วยตนเอง
4. หลักเกณฑ์การสมัครเข้าร่วมโครงการ
ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ วิสาหกิจชุมชน กิจการเพื่อสังคม (SE) หรือนิติบุคคลที่มีผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมและสนใจแก้ไขผกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 โดยผลงานนวัตกรรมจะต้องมีการกำหนดแนวคิดและเป้าหมายเพื่อ “ลดความเสี่ยง ป้องกัน และฟื้นฟู” ผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ที่ชัดเจน และจะต้องมีขอบเขตการนำนวัตกรรมไปใช้ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลาง (นอกเหนือจาก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะพิจารณาเป็นพิเศษ)
ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถดาวน์โหลด แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการ และนำส่งเอกสารที่มีรายละเอียดครบถ้วน ได้ที่ คิวอาร์โค้ด และ ลิ้งค์ดาวน์โหลด ที่ปรากฏบนสื่อประชาสัมพันธ์ ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2563
5. รูปแบบและขั้นตอนการคัดเลือก
5.1 รอบคัดเลือก
– ผู้ประกอบการธุรกิจเชิงนวัตกรรมและบุคคลที่สนใจ ส่ง ข้อเสนอโครงการ ตามรายละเอียดที่กำหนดให้ครบถ้วน
– คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม จำนวน 50 รายเข้าร่วมการอบรม หลังจากนั้นจะทำการคัดเลือกผู้มีศักยภาพพร้อม จำนวน 10 ราย ให้เข้าสู่กระบวนการบ่มเพาะและได้รับการสนับสนุนการพัฒนาต่อยอดผลงานนวัตกรรมเพื่อให้เกิดผลต่อพื้นที่เป้าหมายตามระยะเวลาที่กำหนด
– เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกผู้มีศักยภาพพร้อม จำนวน 10 ราย ได้แก่ ศักยภาพของผู้ประกอบการ แนวคิดของผลงานนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในด้านการ“ลดความเสี่ยง ป้องกัน และฟื้นฟู” ผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ของพื้นที่เป้าหมายและผู้เกี่ยวข้อง
5.2 รอบปฏิบัติการ นิเทศและติดตามงาน
– หลังจากทั้ง 10 ราย ได้รับการสนับสนุนการพัฒนาต่อยอดผลงานนวัตกรรมในพื้นที่เป้าหมายและดำเนินโครงการไปแล้วเป็นระยะเวลา 2 เดือน ทีมผู้ดำเนินโครงการจะ นัดหมายผู้ประกอบการแต่ละรายเพื่อการนิเทศและติดตามงาน 1 ครั้ง
– ทีมผู้ดำเนินโครงการติดตามผลลัพธ์การดำเนินงานจากพื้นที่เป้าหมาย
6. กำหนดการ
หมายเหตุ: กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
โครงการหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมประจำพื้นที่ภาคกลาง เบอร์โทร 085-8134493