Business Model สำหรับธุรกิจเพื่อสังคม มีอยู่จริงหรือ?

การเริ่มต้นทำ ธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise นั้น มักเริ่มต้นจาก passion ในการช่วยเหลือและแก้ปัญหาสังคม โดยหลาย ๆ คนอาจไม่ได้คิดว่าจะสามารถสร้างรายได้เพื่อดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างไร บางท่านอาจรู้สึกผิดที่จะแสวงหากำไรจากการทำธุรกิจเหล่านี้ แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า การสร้าง business model นั้นถือเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถสร้าง impact ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนมากที่สุด

Model หลัก ๆ ของธุรกิจเพื่อสังคมมีอะไรบ้าง?

1. External Social Enterprise

Business model นี้ ในส่วนของธุรกิจที่หารายได้ จะแยกออกมาจากส่วนที่สร้าง impact ของบริษัท ตัวอย่างเช่น ร้านอาหาร Cabbage and Condoms ที่เกิดแรงบันดาลใจจากการสร้าง สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยโดยการใช้ถุงยางอนามัย โดยรายได้ของการเปิดร้านอาหาร จะถูกนำไปส่งเสริมกิจกรรมในสมาคม

2. Integrated Social Enterprise

Model ที่สองนี้ เป็นกิจการที่หารายได้เข้าบริษัท และส่วนที่สร้าง Impact นั้น จะมีความเกี่ยวข้องกัน ตัวอย่างเช่น social service ต่าง ๆ เช่น การเปิดบ้านพักคนชรา ช่วยเหลือสังคมผู้สูงอายุ

3. Embedded Social Enterprise 

Model สุดท้ายนี้ เป็นรูปแบบของธุรกิจที่มีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาทางสังคมโดยตรง และหารายได้จากการทำกิจกรรมเพื่อสังคมโดยตรง ตัวอย่างเช่น บริษัท SunSawang ที่ได้ติดตั้ง Solar panels ในชุมชนในจังหวัดตากและแม่ฮ่องสอนที่ขาดแคลนไฟฟ้า โดยมีการเก็บเงินชาวบ้านเป็นค่าไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ อีกทั้งมีการฝึกสอนให้คนในชุมชนเรียนรู้ที่จะมาเป็นช่างซ่อม และดูแลระบบ ช่วยเสริมอาชีพให้กับชุมชน

ซึ่งทั้ง 3 โมเดลนี้ ไม่ว่าจะใช้ business model แบบไหน เราก็สามารถที่จะประสบความสำเร็จและพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืนได้ อีกทั้งยังไม่มีรูปแบบตายตัวเพราะบางธุรกิจอาจเป็นการรวมตัวกันของหลากหลายโมเดลเข้าด้วยกัน

ตัวอย่าง Social Enterprise ในประเทศไทย ที่มีการใช้ Business Model รูปแบบต่าง ๆ มีอะไรบ้าง?

1. Achieve

รูปแบบ Business Model: Embedded Social Enterprise / Integrated Social Enterprise

Achieve จัดกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะการเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ ให้กับเด็กมัธยม เพื่อลดอัตราการเปลี่ยนสายคณะของนักศึกษา และทำให้เด็กสามารถค้นหาตัวเองได้ก่อนที่จะเข้ามหาวิทยาลัย การจัด workshop ต่าง ๆ ที่ผู้เข้าร่วมจ่ายเงินเพื่อมาทำกิจกรรมนั้น ถือเป็นการที่รายได้มาจากการทำงานกับผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือโดยตรง ซึ่งจะเป็นรูปแบบของ Embedded Social Enterprise หากเป็นการจัดกิจกรรมที่มีสปอนเซอร์นั้นจะถือเป็น Integrated Social Enterprise นั่นเอง

2. Toolmorrow

รูปแบบ Business Model: Integrated Social Enterprise

Toolmorrow เป็นเว็บไซต์ที่สร้าง Video Content เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น โดยมีการทำงานหลัก 3 อย่างด้วยกัน คือ วิดีโอทดลองเพื่อพิสูจน์ปฏิกิริยาทางสังคม แคมเปญสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง และ เนื้อหาสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยมี business model เป็นแบบ  Integrated Social Enterprise เนื่องจากผู้สนับสนุน และ sponsor content และผู้ที่ได้รับผลกระทบนั้นเป็นคนละกลุ่มกัน แต่มีความตั้งใจที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมทั้งคู่

3. Heartist 

รูปแบบ Business Model: Embedded Social Enterprise

แบรนด์กระเป๋าผ้าที่ทอโดยเด็กพิเศษ เป็นโปรเจ็กต์ที่เริ่มขึ้นโดยหญิงสาววัย 25 ปี ที่มีความต้องการที่จะช่วยเหลือเด็กพิเศษอย่างแท้จริง ช่วยเสริมสร้างรายได้และส่งเสริมความสามารถในการทอผ้าให้กับพวกเขา โดยรูปแบบ business model นี้ถือเป็นรูปแบบของ Embedded Social Enterprise เนื่องจากผู้ที่ทำกระเป๋าผ้าทอนั้น เป็นผู้ได้รับรายได้โดยตรง

 

แล้วเราจะหา business model ได้อย่างไร?

หากคุณกำลังเริ่มต้นมองหา business model ให้กับธุรกิจเพื่อสังคมของคุณ วิธีการในการเริ่มต้น สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วย 5 steps ดังต่อไปนี้

  1. Strength/existing resources: วิเคราะห์หาจุดแข็งของทีม และผลงานขององค์กร
  2. Identify target customer segment: หากลุ่มเป้าหมายลูกค้าที่ตรงกับจุดแข็งของเรา
  3. Analyse customer’s needs: ทำความเข้าใจความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เลือกมา
  4. Analyse alternative: หากลุ่มคู่แข่งที่ทำ product/service คล้าย ๆ เรา
  5. Brainstorm solution: หาจุดต่างที่ทำให้เราแตกต่างจากคู่แข่งได้

จะทราบได้อย่างไรว่า business model ไหน เหมาะกับเรา?

คุณจูนได้ก่อตั้ง The Guidelight เพื่อเป็นตัวช่วยให้นักศึกษาที่บกพร่องทางการมองเห็น สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาได้เท่าเทียมกับนักศึกษาทั่วไป และช่วยส่งเสริมอาชีพให้กับนักศึกษาเหล่านั้น โดยเริ่มจากการทำหนังสือเสียงสำหรับการเรียน และแม้ว่าจะรู้สึกท้อหลายหนกับการค้นหา business model ที่ใช่ แต่คุณจูนก็ยังคงยืดหยัดสู้ต่อไป หลังจากเวลาสี่ปี ก็สามารถหา business model ที่เหมาะสมกับ value ของบริษัทได้ โดยใช้หลักแนวคิดที่สำคัญ 3 ข้อ ได้แก่:

1. Solution ที่ตอบโจทย์: มาจากการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย นำ solution ไปทดลองและปรับเปลี่ยนจนเจอสิ่งที่ใช่

2. Model ที่ยั่งยืน: หลายครั้งเราอาจมี idea business model หลากหลายแบบ แต่ criteria ที่นำมาตัดสินใจ คือ

  1. Opportunity – ตลาดหรือโอกาสที่จะทำเงินจาก model นี้มีมากแค่ไหน คุ้มกับการทำไหม
  2. Resource – ทีมของเรามีกำลังพอที่จะทำงานภายใต้ model นี้ไหม
  3. Value – model นี้สอดคล้องกับ value ของเราหรือเปล่า

คุณจูนได้ยกตัวอย่างให้ฟังว่า เคยมีโอกาสที่จะทำ model CSR ให้บริษัทมาร่วมกิจกรรมกับผู้พิการทางการมองเห็น ซึ่งเป็น model ที่มีทั้ง opportunity และ resource ที่เพียงพอ แต่ไม่ตรงกับ value ขององค์กร เพราะทำให้ผู้พิการเป็นเหมือนสินค้า จึงไม่ได้นำมาเป็น business model หลักในการทำธุรกิจ

3. Partner ที่เข้าใจ: สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากในการเลือก partner นั้น คือการ partner กับบริษัทที่เข้าใจความต้องการของเรา และมี value ที่ตรงกับสิ่งที่เราทำ หลาย ๆ ครั้ง เราอาจจะพบเจอกับปัญหาการตัดสินใจว่าเราควรจะ partner กับบริษัทไหน ทำกิจกรรมแบบไหนที่จะ align กับ values ของบริษัทเรา เราจึงต้องคิดไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะรับงานว่ากิจกรรมนั้น ๆ ตรงกับสิ่งที่เราต้องการจะสร้างหรือไม่ อย่างไร

จะเห็นได้ว่าการตัดสินใจทั้งหมดล้วนอิงกับ value ขององค์กร ที่ทีมต้องตกลงให้ตรงกันตั้งแต่แรก เพราะจะมาเป็นเข็มทิศในการเดินทางให้กับเรา

การทำตามหลักแนวความคิดทั้ง 3 ข้อนี้ ทำให้คุณจูนสามารถค้นพบ business model ที่เหมาะกับบริษัท โดยปัจจุบันได้พัฒนาเป็น Vulcan Coalition – AI Data Crowdsourcing for Disabilities ที่ให้คนที่พิการได้มีโอกาสทำงาน และรับรายได้จากบริษัท partners ที่ใช้ข้อมูล data เหล่านั้น คุณเองก็สามารถนำหลักคิดสามอย่างนี้ ไปปรับใช้กับการหา business model ที่เหมาะกับธุรกิจของคุณได้เช่นกัน


ขอบคุณที่มา: Disrupt Ignite