Sea (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มระดับโลก อาทิ การีนา (Garena) ช้อปปี้ (Shopee) และ แอร์เพย์ (AirPay) ร่วมมือกับ “ยังแฮปปี้” (YoungHappy) ธุรกิจเพื่อสังคมของกลุ่มผู้สูงอายุ จัดเวิร์กชอป “Sea (Thailand) x YoungHappy: ชวนสูงวัยรู้ทันภัยจากโซเชียล” มุ่งสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจในการเสพข้อมูลจากสื่อออนไลน์ต่าง ๆ สร้างเกราะป้องกันภัยและความเสี่ยงที่มาพร้อมโลกออนไลน์เพื่อกลุ่มผู้สูงอายุ โดยมีคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ หัวหน้าศูนย์ “ชัวร์ก่อนแชร์” มาร่วมแบ่งปันกรณีศึกษาข่าวเท็จ (Fake News) ที่เข้ามาสร้างความปั่นป่วนบนสื่อโซเชียล
คอมมูนิตี้บนโลกดิจิทัลที่มีคุณภาพและปลอดภัย ได้แก่ การพัฒนาทักษะ ความรู้ความเข้าใจ ในการใช้งานและอยู่รวมกับเทคโนโลยี เพื่อเสริมศักยภาพผู้บริโภคให้สามารถเก็บเกี่ยวโอกาสที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี เช่น โอกาสจากอาชีพที่เกิดขึ้นใหม่ โอกาสในการสร้างรายได้สำหรับผู้ที่ออกจากตลาดแรงงานไปแล้ว โอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากหลากหลายแหล่ง หรือโอกาสในการติดต่อสื่อสารแบบเรียลไทม์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุด เป็นหนึ่งในภารกิจที่ Sea (ประเทศไทย) ต้องการสร้างให้เกิดขึ้นจริง นอกเหนือจากการให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มที่เป็นภารกิจหลัก
“ยังแฮปปี้” (YoungHappy) ในฐานะที่คลุกคลีกับสังคมผู้สูงอายุมาเป็นเวลายาวนาน สังเกตเห็นว่าปัจจุบันกลุ่มผู้สูงวัยได้รับผลกระทบจากข่าวเท็จ ข่าวสารที่มีการบิดเบือน หรือข่าวสารที่จงใจสร้างให้เกิดความเข้าใจผิดมากพอสมควร จึงเห็นว่าการให้ความรู้ความเข้าใจกับพวกเขาจึงเป็นเรื่องจำเป็น
รูปแบบพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้ มักจะแชร์ข้อมูลข่าวสารเป็นจำนวนมากไปสู่แวดวงคนรู้จักหลาย ๆ กลุ่ม โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวัยของพวกเขา เช่น เรื่องสุขภาพและการเงิน และไม่ใช่แค่การรู้ทันข่าวสาร แต่อยากให้ทุกคนสามารถป้องกันภัยเสี่ยงอื่น ๆ บนโลกออนไลน์ได้อีกด้วย เช่น การรักษาข้อมูลส่วนบุคคลและการรู้เท่าทันกลโกงรูปแบบต่าง ๆ ของมิจฉาชีพไซเบอร์
มีการยกตัวอย่างภัยไซเบอร์ที่ผู้เข้าร่วมเวิร์กชอปหลาย ๆ คนมีประสบการณ์ร่วม เพื่อเป็นกรณีศึกษา เช่น การโฆษณาสินค้าเพื่อสุขภาพบนโซเชียลมีเดีย โดยไม่มีผู้เชี่ยวชาญมารับรองความปลอดภัย และนำรูปภาพบุคคลลอื่นมาแอบอ้างว่าเป็นผู้ใช้สินค้า การล่อลวงให้ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ไม่มีอยู่จริงเพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงคลิปดังอีกมากมายที่ถูกนำไปกระจายบนโลกออนไลน์พร้อมข้อความชี้นำที่ไม่ตรงความจริง และนำมาซึ่งความเข้าใจผิดวงกว้างในสังคมของเรา สิ่งที่ทุกคนควรตระหนักเพื่อเป็นเกราะป้องกันตัวเองและคนรอบข้าง คือ “4 Literacy” ได้แก่
1. Digital literacy ตระหนักไว้เสมอว่าใครก็สามารถสร้างข้อมูลได้ และมีความเป็นไปได้เสมอว่าอาจเป็นข่าวสารที่ไม่เป็นความจริง
2. Health Literacy ความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นในการดูแลสุขภาพ และควรต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทุกครั้งก่อนตัดสินใจปฏิบัติตามเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต
3. Media Literacy การตรวจสอบแหล่งที่มาของข่าวอย่างมีประสิทธิภาพ
4. Financial Literacy ต้องเข้าใจธรรมชาติของการลงทุนว่าไม่มี ‘Low Risk, High Return’ และเข้าใจระบบการทำธุรกรรมทางการเงินในเบื้องต้น
อ่านเนื้อหาฉบับเต็มได้ที่: เว็บไซต์ www.ryt9.com