การประชุมสมัชชาวิสาหกิจเพื่อสังคม ประจำปี 2566 ได้มีการหารือร่วมกับวิสาหกิจเพื่อสังคม กลุ่มกิจการเพื่อสังคม นักวิชาการ และภาคีเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาใน 4 ประเด็น ได้แก่
ประเด็นที่ 1 แนวทางการสร้างการรับรู้สำหรับวิสาหกิจเพื่อสังคม
- ปัญหาที่พบ ผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholders) รู้จัก (perception) และตระหนักรู้ (awareness) เกี่ยวกับวิสาหกิจเพื่อสังคมไม่ทั่วถึง
-
- แนวทางการแก้ปัญหา
-
- ควรวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียตาม segment ต่างๆ ดังนี้
- ภาคประชาชน ผู้ซื้อสินค้าและบริการจากวิสาหกิจเพื่อสังคม
- องค์กรภาครัฐ
- องค์กรภาคเอกชน
- จัดทำสื่อ และแนวทางประชาสัมพันธ์แยกตาม segment ต่างๆ
- ควรวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียตาม segment ต่างๆ ดังนี้
-
- ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
ควรสร้างการรับรู้ และตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของวิสาหกิจเพื่อสังคมให้กับเยาวชน เพื่อให้เห็นความสำคัญของรูปแบบทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปโดยผลักดันให้มีเนื้อหารายวิชาเกี่ยวกับวิสาหกิจเพื่อสังคมในหลักสูตรตั้งแต่ระดับประถม และมัธยม
ประเด็นที่ 2 แนวทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของวิสาหกิจเพื่อสังคม
- ปัญหาที่พบ กรณีขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน : เงื่อนไข และวิธีการขอสินเชื่อของวิสาหกิจเพื่อสังคมจากสถาบันการเงินยังมีข้อจำกัดสำหรับวิสาหกิจเพื่อสังคมอยู่มาก
-
- แนวทางการแก้ปัญหา
-
- จัดให้มีการอบรม/ทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการ SE ในการขอกู้เงินจากธนาคาร
- เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ SE ให้กับกลุ่มสถาบันการเงินรับทราบ
- ประสานสถาบันการเงินเพื่อจัดให้มีเงินทุนรูปแบบที่เหมาะสมกับ SE แต่ละขั้นของการพัฒนา
-
- ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
พิจารณาเสนอไปยังหน่วยงาน เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ กระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขบางประการ เช่น ผลประกอบการที่เป็นกำไรอย่างน้อย 1 ปี ให้แก่ กิจการ SE ด้วยเหตุที่ SE เป็นกิจการที่มีลักษณะเฉพาะ และปรับให้สามารถนำวิธีการประเมินผลการดำเนินงานของวิสาหกิจเพื่อสังคมในรูปแบบอื่น เช่น SROI มาประกอบการพิจารณาสินเชื่อ เนื่องจากวิสาหกิจเพื่อสังคมมุ่งเน้นการสร้าง Socail Impact ไปพร้อมๆ กับการสร้างกำไร
- ปัญหาที่พบ กรณีขอทุนจากหน่วยงานให้ทุน หรือ กองทุน : วิสาหกิจเพื่อสังคมยังขาดความเข้าใจต่อ กฎเกณฑ์การให้/ขอรับทุนสนับสนุน
- แนวทางการแก้ปัญหา
ประสานหน่วยให้ทุนเพื่อทำความเข้าใจ วืธีการให้ทุนและเอื้ออำนวยต่อการสนับสนุนกจการ SE
-
- ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กิจการ SE มีหลักเกณฑ์/หรือระเบียบต่าง ๆ ที่ชัดเจน และเอื้ออำนวยต่อ การสนับสนุนกิจการ SE
ประเด็นที่ 3 แนวทางการสร้างผลกระทบเพื่อสังคมสำหรับวิสาหกิจเพื่อสังคม
- ปัญหาที่พบ ขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการ วัดผลกระทบทางสังคม
- แนวทางการแก้ปัญหา
ความจัดอบรมการประเมินผลกระทบทางสังคมให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคม ตาม Level แบ่งตามรุ่น และหากเป็นไปได้ควนจัดโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เนื่องจากค่าอบรมปกติจากภายนอกมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
- ปัญหาที่พบ ในกรณีวิสาหกิจเพื่อสังคมมีการประเมินผลกระทบทางสังคมแล้วจะได้รับ ประโยชน์อย่างไรที่เป็นรูปธรรม
- แนวทางการแก้ปัญหา
-
- สนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการของวิสาหกิจเพื่อสังคมที่มีการแสดงผลกระทบทางสังคม SROI SIA
- มีเจ้าภาพในการสร้างเครื่องมือวัดผลกระทบทางสังคมที่เป็น มาตรฐานเดียวกันสำหรับทุก ๆ ธุรกิจไม่ว่าจะเป็นภาคเกษตร ภาคสังคม หรือแม้กระทั่งภาคสิ่งแวดล้อม โดยที่หาการสนับสนุน เช่น ให้มหาวิทยาลัยช่วยสนับสนุนในการจัดโครงการอบรม SIA SROI อย่างต่อเนื่อง
-
- ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
-
- พยายามผลักดันให้เกิดประโยชน์กับภาคเอกชนที่สนับสนุน วิสาหกิจเพื่อสังคม ที่มีการแสดงผลกระทบทางสังคม SROI SIA เช่น ประยชน์ทางภาษี หรือประโยชน์ เรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
- มีหน่วยงานหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง (Audit) ของการประเมินผลกระทบทางสังคม
ประเด็นที่ 4 แนวทางการสร้างกำลังคนเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้วิสาหกิจเพื่อสังคม
- ปัญหาที่พบ ความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติของคนทำงานในธุรกิจเพื่อสังคมยังไม่ลึกเพียงพอ
- แนวทางการแก้ปัญหา
-
- จัดงานมอบรางวัลบุคคลหรือหน่วยงาน SE ดีเด่น เพื่อเป็นแรงจูงใจ
- การประชาสัมพันธ์และสนับสนุน SE จะต้องไม่เป็นหน้าที่ของ สวส. เพียงหน่วยงานเดียว หน่วยงานราชการอื่นควนจะมามีส่วนร่วมด้วยเช่นกัน
-
- ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
-
- ปลูกผังเรื่อง Social Enterprise ลงในสื่อการเรียนการสอนตั้งแต่ประถม
- เชื่อมโยงกับโรงเรียนหรือสถาบันที่สนับสนุนหรือผลิตแรงงานเข้าสู่วิสาหกิจเพื่อสังคม
- เพิ่มสิทธิและสวัสดิการสำหรับบุคลากรใน SE
- ปัญหาที่พบ วิสาหกิจเพื่อสังคมขนาดเล็ก ไม่สามารถจ้างแรงงานที่มีประสบการณ์และความสามารถได้เพราะมีทุนน้อย
- แนวทางการแก้ปัญหา
-
- ประชาสัมพันธ์เรื่องการจ้างงานเด็กอาชีวะที่ยังอยู่ในระบบการศึกษาสามารถนำค่าใช้จ่ายมาลดหย่อนภาษีได้
- มีระบบ Matching นักศึกษา/นิสิตกับกิจการโดยเริ่มจากการให้มหาวิทยาลัยส่งนักศึกษามาฝึกงานที่องค์กร SE
- ส่งเสริมให้ SE ทำ Matketing โดยใช้ impact ทางสังคมมาเป็นตัวดึงดูด และจูงใจให้คนเข้าสู่วิสาหกิจเพื่อสังคม เพราะสามารถสร้างประโยชน์ให้สังคมได้
-
- ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
-
- ภาคการศึกษาตั้งแต่ระดับประถม/มัธยมจะต้องมีกิจกรรมหรือโครงการที่จะปลูกฝังความเป็น SE หรือจิตอาสา
- ภาครัฐปลูกฝังให้คนเห็นว่าการทำงานในองค์กร หรือกิจการ SE นั้นเป็นอาชีพที่มีเกียรติ
- ปัญหาที่พบ ขาดนักวิจัยที่จะช่วยในการสร้างนวัตกรรม หรือต่อยอดผลิตภัณฑ์เนื่องจากไม่มีเงินทุนที่มากพอ
- แนวทางการแก้ปัญหา
ประสานมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างระบบในการจับคู่นักวิจัยกับผู้ประกอบการ SE
- ปัญหาที่พบ SE ไม่รู้จักกันและขาดการส่งเสริมช่วยเหลือต่อกันและกัน
- แนวทางการแก้ปัญหา
-
- ทำเว็บไซต์ที่เป็น Market place ของกิจการเพื่อสังคม โดยเฉพาะ โดยมีการแบ่งเป็น Directory เช่น สินค้าเกษตร สินค้าทำมือ สินค้าเพื่อสุขภาพเป็นต้น
- จัด SE event/SE night อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจประเภทเดียวกัน/หรือต่างประเภทกันสามารถมาเจอเพื่อพูดคุย และทำความรู้จักกันได้อย่างต่อเนื่อง
ขอบคุณที่มา : สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม – สวส.