เชิญเข้าร่วมงานมหกรรมมหิดลเพื่อสังคม MUSEF Mahidol University Social Engagement Forum วันที่ 7 ตุลาคม 2564 09:00 – 16:00 น. (Virtual Conference)

MUSEF-SEbanner_210911_SE01
วัตถุประสงค์ของการจัดงานมหกรรมมหิดลเพื่อสังคม’ (MUSEF 2021)

เพื่อเปิดพื้นที่ให้แก่นักวิจัยและนักวิชาการของมหาวิทยาลัยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่ผลงานต่อสารธารณชน ตลอดจนได้พบกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบาย และสร้างเครือข่ายความร่วมมือให้เกิดการผลักดันกระบวนการเชิง Policy Advocacy เพื่อนำผลงานวิจัยไปสู่การเป็นนโยบายและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดการพัฒนาสังคมไทยอย่างยั่งยืน

วัน – เวลา : พฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม 2564 นี้ ตั้งแต่เวลา 9:00 – 16:00 น.

รูปแบบการจัด :  Virtual Conference บนแพลตฟอร์ม Zoom และ Spatial Chat
จำนวนเปิดรับ : 300 คน
ค่าใช้จ่าย : ไม่เสียค่าใช้จ่าย

กิจกรรมไฮไลท์ที่น่าสนใจ
การบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยมหิดล

กับการบรรยายและเสวนาใน 4 หัวข้อ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่

  • 09:10 – 09:30 น. : การบรรยายหัวข้อ มหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อสังคม
    โดย ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล
  • 09:30 – 10.00 น. : การบรรยายหัวข้อ มหาวิทยาลัยมหิดลกับ Sustainable Development Goals (SDGs) โดยศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
  • 10:15 – 10:45 น. : การบรรยายหัวข้อ มหาวิทยาลัยมหิดลเขยื้อนสังคม
    โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี กรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิ
  • 10:45 – 12.00 น. : การเสวนาหัวข้อ มหาวิทยาลัยมหิดลกับการชี้นําสังคม : กรณีศึกษา COVID19 โดยคณะแพทย์ทั้ง 2 แห่งที่มีบทบาทสำคัญในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา – คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา – คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่จะมาให้ความรู้ และข้อมูลสำคัญทั้งการรักษาพยาบาล การป้องกันการแพร่ระบาด วิธีการดูแลสุขภาพเบื้องต้น รวมถึงการมีส่วนผลักดันให้รัฐบาลกำหนดมาตรการและนโยบายเพื่อควบคุมโรคและป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง

กิจกรรม Workshop จากกลุ่มนักวิจัย และกลุ่มผู้ทำงานภาคสังคม

กิจกรรมที่จะช่วยส่งเสริมกระบวนการทำงานวิชาการด้านสังคมมีความเข้มข้น และสร้างผลลัพธ์ทางสังคมให้เกิดประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น ผ่านการส่งต่อความรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการร่วมกัน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ตระหนักรู้ รับทราบ ทำความเข้าใจ และเรียนรู้จากการจำลองสถานการณ์จริง พร้อมทั้งนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายต่อไป

  • 13:00 14:00 น. Workshop 1 (W1) : MU Organic

ทีมวิทยากร ผศ.นิวัต อุณฑพันธุ์ / พินณารักษ์ พันธุมาศ / สายชล บริสุทธิ์ และพฐา สุขารมณ์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับเครือข่ายข้าวอินทรีย์ภาคเหนือตอนล่าง 2 และ เครือข่ายมาตรฐาน MU Organic

วงสนทนาการพัฒนาเครื่องหมายมาตรฐานการรับรองเกษตรอินทรีย์จากความร่วมมือของนักวิจัยและเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงการรับรองมาตรฐานอย่างไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมไปถึงการได้ทดลองตรวจสอบแปลงผักแบบ Live ที่จะพาผู้เข้าร่วมไปตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพแปลงผักฉบับ MU Organic ด้วยกัน

  • 13:00 14:00 น. Workshop 2 (W2) : การรณรงค์ลดการบริโภคเกลือโซเดียม
    ในประชากรไทยเพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
    ทีมวิทยากร รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ / น.ท.หญิงวรวรรณ ชัยลิมปมตรี / อนันตญา ขุนจ่าง / ณัฐพงษ์ โชติโภคทรัพย์ /หริส มินสุวรรณ / รวีวรรณ ลาภพิเชษฐไพบูลย์ / นัธิดา บุญกาญจน์ และ ณพนารถ รักษาเพ็ชร ภาควิชาอายุรศาสตร์
    คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

โครงการนี้ได้รับรางวัล Public Policy Advocacy Award จากงานมหกรรมคุณภาพมหิดล 2020 เป็นการนำเสนอประสบการณ์ตลอดระยะเวลา 7 ปี ของการสร้างเครือข่ายการรณรงค์เพื่อให้ประชาชนตระหนักรู้และลดการบริโภคเกลือโซเดียม เพื่อลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

  • 13:00 14:00 น. Workshop 3 (W3) : Social Engagement: แผนภาพแสดงผลกระทบทางสังคม (Social Impact Canvas)
    วิทยากร ผศ.ดร.ชิตชยางค์ ยมาภัย พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม และ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

    เรียนรู้เครื่องมือ และวิธีการใช้เครื่องมือกับงานประเภทต่างๆ ในการออกแบบและประเมินผลกระทบทางสังคม ซึ่งเหมาะสำหรับนักวิชาการที่ต้องการทำงานที่สามารถเพิ่มผลกระทบทางสังคม หรือนักทำงานภาคสังคมที่ต้องการเครื่องมือในการทำงานเพิ่มเติม Social Impact Canvas อาจช่วยให้เขียนผลงานวิชาการรับใช้สังคมได้ง่ายและตรงประเด็นขึ้น

  • 14:00 15:00 น. Workshop 4 (W4) : โครงการขยายผลกิจกรรมภารกิจพิชิตจุดเสี่ยงสู่ 3 วิทยาเขต
    ทีมวิทยากร อภิชาติ มหิงสพันธุ์ และ จตุรงค์ ศิริบรรณากูล งานสร้างเสริมสุขภาพ และ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
    ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
    สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว

แบ่งปันความรู้จากการนำกิจกรรมภารกิจพิชิตจุดเสี่ยงไปขยายผลในรูปแบบต่างๆ และร่วมออกไอเดียการสร้างความปลอดภัยให้กับลูกหลานใกล้ตัวของเราทุกคน เพื่อร่วมหาวิธีการที่สามารถนำไปลงมือทำได้ทันที

  • 14:00 15:00 น. Workshop 5 (W5) : เพื่อนรักต่างศาสนา: ผู้นำกับการถักทอสันติภาพและความปรองดองในสังคมไทย
    ทีมวิทยากร ผศ.ดร.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ / ดร.ชาญชัย ชัยสุขโกศล / กูมูฮำาหมัดนูร กูโนะ /               ชาริต้า ประสิทธิหิมะ โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล CoJOY Consulting

    ประสบการณ์จากการลงพื้นที่ไปพบปะและหารือร่วมระหว่างพระกับอิหม่าม ในพื้นที่ชายแดนใต้ โดยใช้เรื่อง “สุขภาพ” เป็นตัวนำในการสนทนาเพื่อนำไปสู่การหารือแนวทางการแก้ไขประเด็นความขัดแย้งในพื้นที่ ผ่านกระบวนการสันติวิธีเพื่อสร้างสันติภาพและความปรองดองให้เกิดขึ้นในพื้นที่
    * หมายเหตุ กิจกรรมนี้ขอความร่วมมือในการร่วมกิจกรรมจนสิ้นสุดเวลา เพื่อประสิทธิผลสูงสุดของกิจกรรม


  • 14:00 15:00 น. Workshop 6 (W6) : Social Engagement: สร้าง Impact อย่างไรให้สร้างสรรค์
    วิทยากร ศานนท์ หวังสร้างบุญ ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม SATARANA, Mayday, Trawell และ Local
    ร่วมเรียนรู้เทคนิคและประสบการณ์การทำงานภาคสังคมด้วยมุมมองและวิธีการใหม่ๆ เพื่อสร้างผลกระทบทางสังคมให้ขยายกว้างมากยิ่งขึ้น
  • 15:00 16:00 น. Workshop 7 (W7) : นวัตกรรมเพื่อการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
    ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID19
    ทีมวิทยากร ผศ.ดร.กภ.ภครตี ชัยวัฒน์ / อ.ดร.กภ.รัตนา เพชรสีทอง / อ.ดร.กภ.เจนจิรา ธนกำโชคชัย และอ.กภ.ศศิธร แสงเรืองรอบ

คณะกายภาพบำาบัด มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันอาศรมศิลป
เมื่อเรากำลังเข้าสู่สังคมยุค Aging Society  นวัตกรรมที่จะเข้ามาช่วยให้การดูแลผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญ มารู้จักเทคนิกวิธีการดูแลผู้สูงอายุสำหรับทุกคนที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน

  • 15:00 16:00 น. Workshop 8 (W8) : การประเมินแนวทางการลดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM5) และผลกระทบต่อสุขภาพจากภาคการขนส่งทางถนนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
    ทีมวิทยากร รศ.ดร.ตระการ ประภัสพงษา /สินธุนนท์ ชวนะเวสน์ / พัชรากร สักเพ็ง / สลิตา คำสุข ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 เกิดขึ้นทุกปี ชวนร่วมประเมินแนวทางการลด PM2.5 และศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้รถใช้ถนน

  • 15:00 16:00 น. Workshop 9 (W9) : ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อบรรเทาผลกระทบจาก COVID-19 ต่อภาคการท่องเที่ยวไทย (IC)
    ทีมวิทยากร อ.ดร.นิภาวรรณ ธิราวัฒน์ และคณะ

พื้นที่แบ่งปันแนวทางการขับเคลื่อนจากไอเดียสู่ระดับนโยบายจากการทำงานกับภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทุกระดับ เพื่อร่วมผลักดันให้เป็นข้อเสนอแนะที่พร้อมใช้งานในระดับนโยบาย พร้อมเปิดพื้นที่ให้กับผู้สนใจหรือผู้เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็น เพื่อร่วมกันต่อยอดไอเดียและช่วยกันสร้างแนนวทางการเยียวยาให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น


การนำเสนอผลงานเชิงวิชาการรับใช้สังคมจากนักวิจัยของมหาวิทยาลัย
(Poster Presentation and Oral Presentation)

นำเสนอผลงานประเภท Poster Presentation และ Oral Presentation ผ่าน Online Platform Spatial Chat โดยนำเสนอข้อค้นพบที่ได้จากงานวิจัย และสิ่งที่จะดำเนินการต่อไปเพื่อสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นระหว่างนักวิจัยและ Stakeholders ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อค้นพบที่ได้นั้นไปผลักดัน หรือขับเคลื่อนสู่การกำหนดเป็นนโยบาย (Policy Advocacy) ได้แก่

  • 13:00 13:20 : Oral Presentation 1 (OP1) : สื่อกลางทางกิจกรรมบำบัดจิตสังคม (PT) คอร์สเรียนออนไลน์ที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาสุขภาพจิตให้แข็งแรง มีความสุข และมองโลกแง่บวกมากขึ้นด้วยตัวเอง
  • 13:20 13:40 : Oral Presentation 2 (OP2) : เครื่องดื่มสมูทตี้สำหรับผู้สูงอายุ (SI)
    พบนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เข้ามาตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้สูงวัยด้วยสมูทตี้ ตัวเลือกเครื่องดื่มแสนทานง่ายที่อุดมไปด้วยสารอาหารครบถ้วน
  • 13:40 14:00 : Oral Presentation 3 (OP3) : โครงการขยายผลและพัฒนาความช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและเด็กปฐมวัยนอกระบบในกรุงเทพฯ (CF) เพื่อทำความเข้าใจความเหลื่อมล้ำและโอกาสในเข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐานของกลุ่มเด็กยากจน ผ่านโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนเพื่อครอบครัวยากจน
  • 14:00 14:20 : Oral Presentation 4 (OP4) : โครงการพิเคราะห์เหตุการตายในเด็ก (RA) ทำความเข้าใจสาเหตุการตายที่แท้จริงของเด็ก พร้อมเรียนรู้แนวทางป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ
  • 14:20 14:40 : Oral Presentation 5 (OP5) : โครงการวิจัยเพื่อติดตามผลกระทบจากสารอาร์เซนิก แมงกานีส ไซยาไนต์ และฟื้นฟูภาวะบกพร่องทางสติปัญญา กระบวนการรู้คิด และการเรียนรู้ในเด็กประถมศึกษาปีที่ 46 (CF) รู้จักและทำความเข้าใจ ‘สารหนู’ ตัวการร้ายทําลายสมอง และพัฒนาการของเด็ก เพื่อป้องกันภาวะบกพร่องทางสติปัญหาให้ลูกหลานของเรา
  • 14:40 15:00 : Oral Presentation 6 (OP6) : สื่อสร้างสรรค์ป้องกันการค้ามนุษย์ในเด็ก (IHRP) ป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานเด็กด้วยการพัฒนาสื่อ และเนื้อหาสร้างสรรค์สอดแทรกในการเรียน การสอน และการถอดบทเรียนจากโรงเรียนในเขตจังหวัดสมุทรสาคร
  • 15:00 15:20 : Oral Presentation 7 (OP7) : โครงการชุมชนร่วมใจบริโภคผักผลไม้อาหารปลอดภัยโรงเรียนบ้านประชาสามัคคี ตำบลบางเคียน อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ (NA) เพราะสุขภาพที่ดีของครูและนักเรียนเริ่มได้ด้วยการร่วมมือ ร่วมใจของชุมชนที่เข้มแข็ง สู่การแบ่งปันผัก ผลไม้ และอาหารปลอดภัยแก่โรงเรียน
  • 15:20 15:40 : Oral Presentation 8 (OP8) : เปลี่ยน ‘ตระหนก’ เป็น ‘ตระหนัก’: การเฝ้าระวังและรายงานคุณภาพอากาศเพื่อสุขภาวะของประชาคมศาลายา (EN)
    เปิดโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มเว็บไซต์สำหรับรายงานคุณภาพอากาศรายชั่วโมง เพื่อให้ประชาคมมหิดล ศาลายา และพื้นที่ใกล้เคียงสามารถรับมือกับฝุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 15:40 16:00 : Oral Presentation 9 (OP9): มหาวิทยาลัยมหิดลกับการมีส่วนร่วมในการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ (IHRP)
    ถอดบทเรียนนวัตกรรมสร้างสันติภาพชายแดนใต้ ระหว่างนักการเมืองและภาคประชาสังคม ด้วยกระบวนการสานเสวนา

กิจกรรม Spatial Chat Speed Networking

เปิดพื้นที่เพื่อทำความรู้จักระหว่างนักวิจัยและผู้ทำงานภาคสังคม และร่วมพูดคุยกับคนใหม่ๆ ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน กับ Sharing Space เพื่อทำความรู้จัก แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ใน 6 กลุ่มประเด็นหลัก ดังนี้

  • กลุ่มงานบริการชุมชน
  • กลุ่มตัวกลางในการสร้าง Impact เช่น Social Accelerator Social Impact หรือ Corporate CSR
  • กลุ่มประเด็นเด็กและเยาวชน
  • กลุ่มประเด็นสุขภาพ
  • กลุ่มประเด็นผู้สูงอายุ และ Inclusiveness
  • กลุ่มประเด็นวัฒนธรรม

หมายเหตุ

  • กิจกรรมนี้รับจำนวนจำกัด (Session ละ 24 คน แบ่งเป็นกลุ่มคนภาคสังคม 12 คน และนักวิจัยหรือบุคคลที่สนใจ 12 คน) จำเป็นต้องลงทะเบียนล่วงหน้า และขอสงวนสิทธิ์ในการให้สิทธิ์เข้าร่วมแก่ผู้สมัครตามลำดับก่อนหลังจนกว่าจะครบจำนวน
  • หากท่านได้รับสิทธิ์ในการเข้าร่วม จะได้รับอีเมลยืนยันการเข้าร่วมกิจกรรม Speed Networking ในกลุ่มประเด็นที่ท่านลงทะเบียนไว้ เพื่อแจ้งกติกา รับลิงก์ และ Password ในการเข้าร่วมกิจกรรมอีกครั้ง (อีเมลยืนยันจะแยกกับกิจกรรมอื่นๆ ภายในงาน)


ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

  1. เกิดเครือข่ายระหว่างอาจารย์หรือนักวิจัย ของมหาวิทยาลัยมหิดลกับองค์การภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อต่อยอดและร่วมพัฒนางานวิจัยไปสู่การขับเคลื่อนให้เกิดเป็นนโยบายชี้นำสังคม
  2. ทราบถึงประเด็นความต้องการ หรือความคาดหวังของภาคประชาสังคมที่มีต่อ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อนำไปสู่การสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้อย่างแท้จริง

วิธีการสมัคร : ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติม และลงทะเบียนผ่าน EventPop  https://www.eventpop.me/e/11115/musef2021


ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ :
Facebook : @musefConference https://www.facebook.com/MUSEFconference
Email :  musef_mahidol@mahidol.ac.th 

Share